วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550

DSS

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS)ในชีวิตประจำวันมนุษย์เรา มีเหตุการณ์ที่ต้องตัดสินใจอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจเพื่อการแก้ไขปัญหาเชิงธุรกิจหรือปัญหาด้านอื่นๆ ก็ตาม ย่อมเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดสินใจในเชิงธุรกิจที่ต้องมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง และนับวันปัญหาต่างๆ ในปัจจุบันจะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความสลับซับซ้อนตามไปด้วย ดังนั้นผู้ตัดสินใจ ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเพื่อประเมินแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่คาดหวังเอาไว้ ซึ่งการตัดสินใจของแต่ละปัญหาจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความสามารถและปัจจัยอื่นๆ และเนื่องจากความสามารถที่หลากหลายของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีพื้นฐานการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกับกระบวนการตัดสินใจ เกิดเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มความถูกต้องให้กับกระบวนการตัดสินใจมากขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรมากมายในปัจจุบันระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ระบบสนับสนุนการตัดสินใจMr.Scott Morton (1971) กล่าวว่า “เป็นระบบที่มีการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ซึ่งคอมพิวเตอร์นี้จะช่วยให้ผู้ตัดสินใจสามารถนำข้อมูล และแบบจำลองต่าง ๆ (Model) มาใช้ประโยชน์เพื่อแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างได้”Mr.Keen และ Mr.Scott Morton (1978) กล่าว “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ Decision Support System: DSS เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงกันระหว่างทรัพยากรสมองของมนุษย์ให้ทำงานร่วมกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ เพื่อต้องการปรับปรุงคุณภาพของการตัดสินใจให้ดีที่สุด กล่าวคือ ระบบ DSS เป็นระบบๆ หนึ่ง ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์คอยช่วยเหลือ และให้การสนับสนุนเพื่อให้บุคคล ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจ สามารถจัดการกับปัญหากึ่งโครงสร้าง (Semi structured) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีการใช้อย่างกว้างและมีความโดดเด่นเพราะเป็นระบบที่สามารถขยายความสามารถในการตัดสินใจของผู้บริหารได้ ซึ่งระบบมีลักษณะและความสามารถที่น่าสนใจ ดังนี้ (กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, 2546)1. สามารถสนับสนุนการตัดสินใจปัญหาทั้งแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง2. สนับสนุนการตัดสินใจเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่ม3. สามารถเข้าถึงแหล่งเก็บข้อมูลที่หลากหลาย และแสดงผลให้อยู่ในรูปแบบรายงานได้หลากหลายเช่นกัน4. มีความยืดหยุ่น คือสามารถที่จะดัดแปลงระบบเพื่อนำไปใช้กับปัญหาอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวาง5. ง่ายต่อการใช้งาน และมีระบบการโต้ตอบกับผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานของผู้บริหารได้ทุกระดับ6. สามารถวิเคราะห์และจำลองสถานการณ์การตัดสินใจแบบต่าง ๆ เพื่อทดสอบป้อนค่าตัวแปร และข้อจำกัดต่าง ๆ ได้แสดงส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มา : http://www.uni.net.th/แสดงกระบวนการตัดสินใจ1. เข้าใจสถานการณ์2. กำหนดปัญหา3. ออกแบบ4. กำหนดเกณฑ์วัด5. ตัดสินใจเลือกทางเลือก6. ติดตามประประเมินผลข้อมูลการประเมินผลประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ1. พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานส่วนบุคคล โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ2. พัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา ช่วยให้ผู้ตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ยังสามารถช่วยแก้ปัญหากึ่งโครงสร้าง และปัญหาไม่มีโครงสร้างได้อีกด้วย3. ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร DSS ที่ทำงานในลักษณะ “Groupware” ทำให้ผู้บริหารสามารถทำการปรึกษา ประชุม และเรียกใช้สามารถสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจผ่านเทคโนโลยีเครือข่าย คอมพิวเตอร์ได้ ทำให้สะดวก ประหยัดเวลาและ ระบบประมาณ4. ส่งเสริมการเรียนรู้หรือการฝึกหัด เมื่อใช้งานบ่อย ๆ5. เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมองค์กร เนื่องจากการตัดสินใจถูกต้องทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น

ไม่มีความคิดเห็น: